พฤศจิกายน 12, 2024

บังคับใช้แล้ว ระเบียบกรมราชทัณฑ์ใหม่ ควบคุมตัวได้ตามสถานที่ต่างๆบ้านพัก แต่ต้องทำตามข้อกำหนด เผยข้อกำหนด 4 ข้อ เอื้อ ทักษิณ หรือไม่

เมื่อวันที่ 12 ธ.ค.66 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า cnypharmacy.com นายสหการณ์ เพ็ชรนรินทร์ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม รักษาราชการแทน อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เปิดเผยกรณีประกาศใช้ ระเบียบกรมราชทัณฑ์ ว่าด้วยการดำเนินการสำหรับการคุมขังในสถานที่คุมขัง พ.ศ.2566 ซึ่งมีผลบังคับใช้ เมื่อวันที่ 8 ธ.ค. ที่ผ่านมา และมีหนังสือบันทึกข้อความ ถึงบัญชาการเรือนจำ ผู้อำนวยการทัณฑสถาน ผู้อำนวยการสถานกักขัง ผู้อำนวยการสถานกักกัน ทั่วประเทศรับทราบ

ระเบียบสาระสำคัญคือการกำหนดสถานที่คุมขังอื่นที่มิใช่เรือนจำ ตามมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ.2560 และพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขังแต่ละประเภทและ การอื่นตามมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ.2560 และมีข้อบังคับหลายอย่าง

โดยนายสหการณ์ เพ็ชรนรินทร์ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม รักษาราชการแทน อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เปิดเผยว่า กรณีดังกล่าวนี้เป็นการเปลี่ยนสถานที่ควบคุมตัว จากเดิมที่ต้องอยู่ในเรือนจำ แต่สามารถออกไปควบคุมตัวในสถานที่อื่นได้ แต่ไม่ใช่การปล่อยให้เป็นอิสระ ซึ่งการคุมขังนอกจากเรือนจำ มีข้อกำหนด 4 ข้อ ประกอบด้วย

1.การจำแนกแยกคุมขัง กรณีที่เราพิจารณา นักโทษรายใด ไม่มีความเสี่ยง ความพร้อมในเรื่องสถานที่รองรับ สถานที่อื่นๆ เช่น สถานประกอบการ/ วัด /มัสยิดโรงเรียน /มูลนิธิ /สถานที่ราชการ และบ้าน

2.การพัฒนาพฤตินิสัย ซึ่งตามปกตินักโทษที่ถูกคุมขัง ปกติในเรือนจำต้องพัฒนาตนเองเพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม สร้างงาน สร้างอาชีพ แต่เมื่อออกไปอยู่ข้างนอกก็ต้องสามารถ พัฒนาตนเองและสามารถศึกษาพัฒนาอาชีพ

3.นักโทษที่มีความเจ็บป่วย ซึ่งเจ็บป่วยแล้วต้องพักฟื้นที่บ้าน และดูแลรักษา หรืออยู่สถานพยาบาล แต่ทั้งนี้ต้องมีความพร้อมที่จะรองรับ

4.การเตรียมความพร้อมก่อนปล่อย เพราะการปล่อยตัวคนที่อยู่ในเรือนจำเป็นเวลานาน และถูกปล่อยตัวออกมาจะปรับตัวยาก และมีความเสี่ยงจะมาก่อเหตุซ้ำ ซึ่งการจะเข้าเงื่อนไข 4 ข้อนี้ จะต้องพิจารณากลั่นกรองตั้งแต่ชั้นเรือนจำ ไปที่กรมราชทัณฑ์ และส่งต่อถึงคณะทำงานพิจารณา จนถึงอธิบดีกรมราชทัณฑ์

ผู้สื่อข่าวสอบถามว่า กรณีกฎนี้จะส่งผลกระทบต่อการดูแลนักโทษหรือไม่ เพราะปัจจุบันที่คุมขังในเรือนจำยังหลบหนีออกมาได้ เรื่องนี้ รักษาราชการแทน อธิบดีกรมราชทัณฑ์ ยอมรับว่ากรณีกลุ่มที่หลบหนีเป็นกลุ่มเสี่ยง และก็ไม่สามารถควบคุมในช่วงที่เขาออกมานอกเรือนจำได้ ซึ่งเราพาเขาออกมารักษาตัว แต่เขากลับหนี ก็ต้องมาปรับเปลี่ยนและดูแลกันอย่างเข้มข้น

แต่ระเบียบที่ออกมานี้ เราจะคัดกรองคนที่ผ่านการตรวจสอบ เช่นผู้สูงอายุ / ผู้ป่วย / และเงื่อนไขสำคัญคือ ต้องรับโทษ 1 ใน3 ของโทษที่ได้รับก่อน

กรณีการควบคุมในบ้าน หลายฝ่ายอาจจะมองว่า นักโทษจะสะดวกสบายเปรียบเหมือนการไม่ได้รับโทษ นายสหการณ์ ระบุว่า การควบคุมตัวในบ้าน ไม่ใช่อยู่บ้านเฉยๆ แต่ต้องทำตามกฎระเบียบกำหนด 3 ข้อ คือ บ้านมีความเหมาะสม และครอบครัวมีความพร้อม มีข้อกำหนดที่เจ้าของบ้านต้องปฏิบัติ และเจ้าหน้าที่ต้องมีวิธีการดูแลควบคุมในการที่นักโทษต้องปฏิบัติการตามกำหนด

และที่สำคัญ จะติดกล้องวงจรปิด คอยบันทึกเหตุการณ์โดยเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์สามารถดูได้ตลอด 24 ชม. และมีการติดกำไลอีเอ็ม ซึ่งจะมีการกำหนดจุดที่ควบคุมตัว แม้ว่าจะไม่ถูกควบคุมตัวในเรือนจำแต่สถานะก็ยังเป็นผู้ต้องขัง จนกว่าจะพ้นโทษ

ผู้สื่อข่าวสอบถามว่า กรณีกฎระเบียบนี้ จะสามารถใช้ได้กับ นายทักษิณ ชินวัตร หรือไม่ นายสหการณ์ กล่าวว่า นักโทษที่จะเข้าเงื่อนไขหนึ่งในนั้น ต้องเข้าจำคุกมาแล้ว 1 ใน 3 ของโทษที่พิพากษา ซึ่งกรณีของนายทักษิณ ยังตอบไม่ได้ว่าเข้าข่าย หรือไม่ ขอให้ทางเรือนจำเป็นผู้พิจารณา

ซึ่งระเบียบนี้ไม่ได้ออกมา เอื้อประโยชน์กับใคร แต่เป็นการพิจารณา เพื่อลดความแออัด และมองว่าผู้ต้องขังที่ออกมามีประโยชน์ต่อตัวนักโทษในการพัฒนาตนเอง ส่วนใครที่ป่วยก็ได้รักษาตัวใน รพ. หรือสถานพักฟื้น จะสะดวกมากกว่าการอยู่ในเรือนจำโดยเฉพาะคนชรา

ซึ่งกฎระเบียบนี้ ญาติหรือผู้ต้องขังไม่มีสิทธิ์ร้องขอหรือเสนอตัว เพื่อขอใช้กฎระเบียบใหม่นี้ จะต้องเป็นทางเรือนจำ อธิบดี และคณะทำงานเป็นผู้พิจารณาเท่านั้น และนักโทษก็ต้องเข้าเงื่อนไขทุกข้อ ซึ่งการพิจารณาจะต้องละเอียดรอบคอบมาก

ทั้งนี้ หากผู้ต้องขังไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขหรือฝ่าฝืนข้อห้ามในการคุมขังและ ผู้ดูแลสถานที่ให้คุมขังไม่สามารถให้คุมขังได้ ก็ต้องนำตัวกลับเรือนจำ ส่งเจ้าหน้าที่ดูแลจนกว่าจะรับโทษครบตามคำพิพากษา

ที่มา 3PlusNews

อ่านข่าวเพิ่มได้ที่ : https://www.khaosod.co.th

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *