กรกฎาคม 27, 2024

นายกฯ แจงที่มาเงิน ดิจิทัลวอลเล็ต 5 แสนล้าน เล็งออก พระราชบัญญัติกู้เงิน ย้ำเป็นไปตามกฎหมายการเงินการคลัง มั่นใจใช้เงินคืนภายใน 4 ปี

เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 10 พ.ย.2566 ที่ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง นโยบายโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน ดิจิทัลวอลเล็ต ว่า โครงการ ดิจิทัลวอลเล็ต ให้สิทธิกับเฉพาะผู้ที่มีเงินเดือนไม่ถึง 70,000 บาท และมีเงินฝากทุกบัญชีรวมกันไม่เกิน 500,000 บาท แปลว่า ถ้าเงินเดือนคุณเกิน 70,000 บาท ก็จะไม่ได้รับสิทธิ ถึงแม้เงินฝากคุณจะมีไม่ถึง 500,000 บาทก็ตาม ขณะเดียวกัน ถ้าเงินฝากคุณเกิน 500,000 บาท แต่เงินเดือนไม่ถึง 70,000 บาท ก็จะไม่ได้รับสิทธินี้เช่นกัน

เรื่องของที่มาที่ไปของ เลข 70,000 และ 500,000 ว่ามาจากไหน ครอบครัวที่มีรายได้น้อยกว่า 70,000 หรือมีเงินในบัญชีรวม 500,000 บาท มีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากกว่าอีกกลุ่มอย่างมีนัยยะสำคัญ ท่านอาจจะบอกว่าครอบครัวนึงเฉลี่ยมี 3 คน ต้องเป็นเลขประมาณ 23,000 แต่จุดประสงค์นโยบายนี้คือ ทำให้ประชาชนได้รับสิทธิอย่างทั่วถึงมากที่สุด จึงเป็นไปได้ว่าบางครอบครัวที่มีรายได้จากคนเดียว ก็ควรได้รับสิทธิด้วย จึงเป็นที่มาของเลข 70,000

ส่วนเลข 500,000 มาจากการคำนวณว่าถ้าคนเงินเดือน 70,000 มีแนวโน้มที่จะมีเงินเก็บไม่ต่ำกว่า 500,000 บาท ทำให้ประเมินได้ว่าคนที่มีเงินเก็บ 500,000 และคนที่มีเงินเดือน 70,000 เป็นคนกลุ่มเดียวกัน โดยเลขเหล่านี้ จะพิจารณาจากฐานข้อมูลของกระทรวงการคลัง

จาก cnypharmacy.com เงื่อนไขและการศึกษาทั้งหมด ทำให้กลั่นกรองผู้ได้รับสิทธิในโครงการ ดิจิทัลวอลเล็ต เหลือประมาณ 50 ล้านคน และจะใช้วงเงินในโครงการนี้เหลือเพียงประมาณ 5 แสนล้านบาท และเงินอีก 100,000 ล้านบาท จะนำใช้ผลักดันต่อยอดอุตสาหกรรมใหม่ๆ โครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ ของประเทศได้ เช่น ยานยนต์สมัยใหม่ อุตสาหกรรมดิจิทัล การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ การพัฒนาบุคลากรและการศึกษา เป็นต้น

เรื่องของแหล่งเงินทุนในโครงการทั้งหมดนี้ เราได้พิจารณาแหล่งเงินทุนที่เป็นไปได้อย่างรอบคอบ ซึ่งเราไม่ได้มองแค่การใช้ตัวเลือกใดตัวเลือกนึง เราดูถึง Hybrid option ที่ผสมผสานหลายๆ แนวทางด้วย วันนี้ คำตอบที่เป็นไปได้มากที่สุดในการดำเนินนโยบายนี้ คือการออก พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) เป็นวงเงิน 500,000 ล้านบาท ซึ่งต้องผ่านกระบวนการการตีความโดยกฤษฏีกา เพื่อให้การออก พ.ร.บ.กู้เงินดังกล่าว เป็นไปอย่างรอบคอบ รัดกุม และไม่ขัดต่อหลักกฏหมายที่เกี่ยวข้อง

การออก พ.ร.บ. จะมีความโปร่งใส ภายใต้การตรวจสอบถ่วงดุลในระบบรัฐสภา และมั่นใจว่า ในที่สุดแล้วจะได้รับการอนุมัติโดยรัฐสภา และเป็นไปตามมาตรา 53 พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561

พ.ร.บ.การกู้เงินดังกล่าวจะระบุวัตถุประสงค์ของการกู้เงิน ระยะเวลาในการกู้เงิน แผนงานหรือโครงการที่ใช้จ่ายเงินกู้ วงเงินที่อนุญาตให้ใช้จ่ายเงินกู้ และหน่วยงานของรัฐ ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบการดำเนินแผนงานหรือโครงการที่ใช้จ่ายเงินกู้ในโครงการ ดิจิทัลวอลเล็ต ให้เป็นไปด้วยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญและกฎหมาย

“รัฐบาลจะทำการกู้เงิน ก็ต่อเมื่อ มีการนำเงินไปใช้และนำมาขึ้นเป็นเงินสด นี่จะเป็นการทำให้เงินในระบบทั้งหมดใหญ่ขึ้นกว่า 500,000 ล้าน ซึ่งจะหมุนเวียนและกระตุ้นเศรษฐกิจได้อย่างมีนัยยะ ผสมกับงบประมาณ 100,000 ล้านบาท เพื่อใช้ดำเนินโครงการที่กล่าวไปทั้งหมด ทุกท่านไม่ต้องห่วงเรื่องของการใช้เงินคืน รัฐบาลจะมีแผนจัดสรรเงินงบประมาณมาเพื่อจ่ายคืนเงินส่วนที่เป็นเงินกู้ตลอดระยะเวลา 4 ปี” นายกฯ กล่าว

อ่านข่าวเพิ่มได้ที่ : https://www.khaosod.co.th

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *